อาหารตำรับบ้านยาหอม

อาหารตำรับบ้านยาหอม เป็นการผสมผสานกันระหว่างตำรับอาหารชาววังจากคลองบางหลวงของคุณเทศ
(คลองบางหลวงเดิมชื่อว่าคลองบางข้าหลวง เป็นที่พักของครอบครัวขุนนางผู้ใหญ่) กับความรู้เรื่องสมุนไพร
จากบ้านหมอยาคลองโอ่งอ่างของคุณบุญรอด ตำรับอาหารของบ้านยาหอม จึงมีทั้งความเข้มข้นและเผ็ดร้อนด้วยเครื่องเทศ
ได้แก่ ไข่พะโล้ หมูฮ้อง กระดูกหมูตุ๋นยาจีน ไก่ต้มขมิ้น แกงเหลือง แกงคั่วใบชะพลู รวมถึงอาหารสูตรข้าหลวงริมคลอง
ได้แก่ หลนปลาเค็ม ยำถั่วพู กุ้งผัดพริกขี้หนูสวน แกงเลียงกุ้ง น้ำพริกมะขาม
และที่ขาดไม่ได้คือขนมไทยโบราณ
เช่น ตะโก้ บัวลอยเผือก กล้วยบวชชี  นอกจากนั้นยังมีเครื่องดื่มร้อนและเย็น ซึ่งได้แรงบันดาลใจจากสมุนไพรไทย
ที่นอกจากรสชาติดีแล้ว ยังมีประโยชน์ต่อร่างกายอีกด้วย
 

 

 

 


 
image
ต้มจิ๋ว
image
ปีกไก่ทอด ซอสมะขาม
image
กะหล่ำปลีผัดน้ำปลา
image
เต้าหู้ลูกเขย
image
ปอเปี้ยะม้วนกุ้งทอด
image
หมูฮ้องอบเชย
image
ไข่เจียวห่อหมกทะเล
image
ยำวุ้นเส้นโบราณ
image
ยำถั่วพลู คลองบางหลวง
image
หลนปลาเค็มและเครื่องเคียง
image
เครื่องดื่มยาหอมสมุนไพร
image
กาแฟโซดาบ้านยาหอม

3เมนูโบราณ

 



ต้มจิ๋ว



ต้มจิ๋ว เป็นแกงพื้นถิ่นของชาวบ้าน มักทำกินกันในหน้าหนาวช่วยให้ร่างกายอบอุ่น สูตรของชาวบ้านน้ำแกงจะสีเข้ม รสชาติไปทางต้มยำต้มโคล้ง แตกต่างจากต้มจิ๋วตำรับในวังที่นิยมทำน้ำแกงใส ปรุงรสชาติไปทางต้มซุปบวกกับต้มยำและต้มส้ม ของเดิมตำรับพระองค์เจ้าเยาวภาพงศ์สนิท ทรงปรุงถวายพระบิดาล้นเกล้ารัชกาลที่ ๕ โดยทรงนำเนื้อวัวมาตุ๋น ปอกมันเทศล้างน้ำใส่ในหม้อเนื้อต้มไปจนเปื่อย ใส่มะขามเปียกนิดหน่อย ซอยหอมใส่ลงไป พอหอมสุก เด็ดใบโหระพาใบกะเพราใส่ลงในหม้อ ยกลง ใส่พริกขี้หนูบุบพอแตก บีบมะนาว ใส่น้ำเคยดี ชิมรสตามชอบ ต้มจิ๋วกลายมาเป็นแกงชาววังตั้งแต่เมื่อใดไม่มีระบุชี้ชัด แต่เข้าใจกันว่าเป็นแกงต้มที่คนไทยโบราณทำกินมานานแล้ว

 ชื่อ “ต้มจิ๋ว” มีผู้สันนิษฐานว่า อาจมีเค้ามาจากภาษาจีน คือ คำที่ออกเสียงจื้อ หรือจู้ เป็นคำจีนแต้จิ๋ว หมายถึงการทำอาหารที่ใช้วิธีต้มให้สุกในน้ำ ดังนั้น “ต้มจิ๋ว” อาจหมายถึงวิธีการปรุงอาหาร ไม่ใช่ลักษณะหรือขนาดของวัตถุดิบและเครื่องปรุงที่นำมาประกอบอาหาร



แกงรัญจวน
 


เจ้าของตำรับ “แกงรัญจวน” คือ ม.จ.สะบาย นิลรัตน์ นายห้องเครื่องอาหารคาว แห่งสำนักพระวิมาดาเธอ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ กรมพระสุทธาสินีนาฏ ปิยมหาราชปดิวรัดา ที่มาของแกงรัญจวนคือ วันหนึ่งอาหารมื้อเที่ยงสำหรับเลี้ยงข้าหลวงเรือนนอกที่มาช่วยงานทำดอกไม้มีเหลือเต็มหม้อ คือ เนื้อวัวผัดพริกอ่อนใบโหระพา เจ้าหน้าที่ห้องเครื่องเสียดาย ม.จ.สะบายจึงให้เจ็กหงีเลือกพริกอ่อนและใบโหระพาออกให้หมด แล้วเอาผัดเนื้อใส่หม้อ เทน้ำซุปลงไป ใส่น้ำพริกกะปิที่เหลือ หั่นตะไคร้เป็นฝอยละเอียด ปอกหอมกระเทียมทั้งกลีบใส่ลงไปในหม้อ ปรุงรสจัดแบบต้มยำปลา พอเดือดยกลง ใส่ใบโหระพา ทุบพริกขี้หนูเติมลงไป ม.จ.สะบายให้ชื่อแกงว่า “แกงรัญจวน” ใครได้กินติดใจทุกคน ถึงขั้นขอจดสูตรไปทำกินเองที่บ้าน กินแล้วต้องอยากกินซ้ำ



แกงระแวง
 


"แกงระแวง" เป็นแกงไทยโบราณที่ได้รับอิทธิพลมาจากชวา ในสมัยรัชกาลที่ 5 มีลักษณะคล้ายแกงพะแนงคือมีน้ำขลุกขลิก แต่ใช้เครื่องแกงเขียวหวานเป็นหลักและเพิ่มตะไคร้กับขมิ้น สีของแกงจึงเป็นสีเขียวอมเหลือง ดั้งเดิมใช้เนื้อวัวแต่ภายหลังดัดแปลงใช้เนื้อหมูหรือไก่ได้ตามชอบ

Powered by MakeWebEasy.com